
บาตาบูโระ เป็นขนมหวานพื้นบ้านของสามจังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะที่ปัตตานี บางที่ก็เรียกว่าขนมหมอน เพราะรูปลักษณ์ที่เห็นเหมือนหมอนหรือเรียกว่าขนมขอนไม้ผุ แต่ดั้งเดิมเรียกขนมชนิดนี้ว่า “บาแตบูโระ” ซึ่งมาจากคำว่า “บาแต” แปลว่าท่อนไม้หรือหมอน ส่วน “บูโร๊ะ” แปลว่าเก่า ต่อมาเพี้ยนมาเป็นบาตาบูโระ ประวัติของขนมบาตาบูโระนั้นเล่ากันว่ามีสตรีผู้หนึ่งซึ่งเป็นบรรพบุรุษของนางสีดีมือแย สามะ เดินทางเข้าไปในสวนเพท่อเก็บมะละกอมาทำอาหาร ในขณะที่เขากำลังเดินทางกลับบ้านนั้นเขาไปเห็นท่อนไม่ท่อนหนึ่งซึ่งเก่ามากล้มอยู่และมีลักษณะเน่าเปื่อยเนื้อข้างในทะลักออกมาเป็นฝอย ๆ จึงมีความคิดที่จะทำขนมที่มีลักษณะคล้ายท่อนไม้เก่า ๆ ใส่ไส้ข้างในคือมะละกอที่เก็บจากสวน เพราะว่ามะละกอสามารถทำเป็นฝอย ๆ ได้ และขนมข้างนอกเขาก็นำแป้งข้าวจ้าวมาทำเป็นแผ่น ๆ แล้วนำไส้มะละกอมาใส่ข้างในม้วนเหมือนกับขนมละแช เมื่อชิมแล้วก็มีความอร่อย และต้องการให้มีน้ำหวาน ๆ เพราะทานขนมอย่างเดียวแล้วมีรสชาติแห้ง ๆ จึงมีการพัฒนาโดยการทำน้ำราดเพื่อเพื่อเพิ่มความอร่อย และมีรสชาติหวานมัน จากนั้นเป็นต้นมานางสีดีมือแย สามะ ได้สืบทอดการทำขนมบาตาบูโระระจากบรรพบุรุษของเขา เนื่องจากคนในสมัยก่อนมีความสามารถในการทำขนมหลากหลายชนิด ทำให้คนรุ่นใหม่มีโอกาสเรียนรู้และฝึกหัดทำขนม รวมทั้งสีตีมือแยเองก็ได้ผิกฝนการทำขนมบูโระจนตัวเองมีความชำนาญ และทำเป็นอาชีพเสริม ในแต่ละวันสามารถที่จะทำชายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเพราะในชุมชนมีเจ้าเดียวเท่านั้นที่ทำขนมบาตาบูโระขายและจะทำอาทิตย์ละครั้งเท่านั้น
ในสมัยโบราณชาวมุสลิมส่วนใหญ่จะทำขนมกันเฉพาะในโอกาสสำคัญ ๆ เช่น งานทำบุญ หรือต้อนรับแกบ้านแขกเมือง หรือเพื่อเป็นสิริมงคลต่อชีวิต เนื่องการทำขนมบางอย่างต้องใช้กำลังคนและไช้เวลาในการทำมาก ซึ่งวัตถุดิบส่วนใหญ่ทำมาจากแป้ง น้ำตาล มะพร้าว ใสมัยก่อนจะใช้แป้งสดคือแป้งที่ได้จากนำเมล็ดข้าว แช่น้ำแล้วโม่ให้ละเอียด ปัจจุบันใช้แป้งแห้งที่ผลิตจาโรงงาน ได้แก่แป้งมัน แป้งข้าวเจ้า แป้งสาลี ส่วนมะพร้าวที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนม ใช้ได้หมดทั้งมะพร้าวอ่อนหรือมะพร้าวแก่ มะพร้าวอ่อนใช้เนื้อผสมในขนม ส่วนที่แก่ไม่มาก็ขูดฝอยทำเป็นไส้ และโรยหน้า ส่วนสีขนมได้จากธรรมชาติ เช่น สีเขียวจากใบเตย กลิ่นหอมที่ใช้ใช้ในขนมมาจากกลิ่นใบเตย ขนมบาตาบูโระจึงเป็นขนมหวานพื้นเมืองของปัตตานี ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและรสชาติอร่อยกลมกล่อม
