ไข่เค็มไชยา

        เป็นของฝากขึ้นชื่ออย่างหนึ่งของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากใช้ไข่เป็ดธรรมชาติมาทำด้วยเทคนิคที่แตกต่างจากไข่เค็มถิ่นอื่น  จึงเป็นไข่เค็มที่ไข่แดงสีแดงจัด มีรสชาติกลมกล่อมไม่เค็มจัดและอร่อยติดปากผู้ที่ได้ลองลิ้มชิมรสมาเป็นเวลายาวนาน ไข่เค็มไชยาเป็นการถนอมอาหารชนิดหนึ่งเพื่อเก็บไว้กินนาน ๆ ที่ชาวไชยารู้จักทำมาตั้งแต่โบราณ  เนื่องจากในท้องที่ อำเภอไชยาเป็นพื้นที่  ที่มีการทำนามากที่สุดในจังหวัดสุราษฎร์ธานีการเลี้ยงเป็ดของชาวไชยามีเกือบทุกบ้านของผู้ที่มีอาชีพทำนาซึ่งจะเลี้ยงบ้านละ 10-20 ตัวการเลี้ยงเป็ดส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งเป็ดจะหาอาหารธรรมชาติในทุ่งนาซึ่งมีจำพวก ปู ปลา หอย สมบูรณ์และจะเสริมอาหารด้วยข้าวเปลือก จึงทำให้คุณภาพของไข่เป็ดแดงไม่มีกลิ่นคาว

       ไข่เค็มไชยาเป็นการถนอมอาหารชนิดหนึ่งเพื่อเก็บไว้กินนาน ๆ เป็นภูมิปัญญาที่ชาวไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี รู้จักทำมาตั้งแต่โบราณเนื่องจากในท้องที่อำเภอไชยาเป็นพื้นที่ที่มีการทำนาและเลี้ยงเป็ดกันเกือบทุกบ้าน การเลี้ยงเป็ดส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง เป็ดมักจะหาอาหารธรรมชาติในทุ่งนาอาทิ ปู ปลา หอย และชาวบ้านจะเสริมอาหารเป็ดด้วยข้าวเปลือก

      ความเป็นมาของไข่เค็มไชยามีเรื่องเล่าว่า ไข่เค็มไชยาเกิดขึ้นในสมัยที่รัฐบาลกำลังสร้างทางรถไฟสายใต้ โดยมีนายจี่ แซ่ซิก ที่ทำหน้าที่สร้างสะพานเหล็กตั้งแต่ชุมพร-สุราษฎร์ธานี เป็นผู้คิดค้นสูตรการทำไข่เค็มขึ้นมา ซึ่งแต่เดิมนั้นชาวไชยาก็ได้มีการนำไข่เป็ดมาหมักเพื่อให้มีรสชาติเค็มอยู่แล้ว แต่ไม่อร่อย โดยนายจี่ แซ่ซิก และครอบครัว ได้คิดค้นโดยการนำเอาดินเหนียวมาผสมกับเกลือป่น จากนั้นนำดินเหนียวมาพอกหุ้มไข่เป็ดเอาไว้จนมิดแล้วนำไปคลุกกับขี้เถ้าอีกครั้ง จึงได้ไข่เค็มที่มีรสชาติอร่อยและดีกว่าเดิม แต่เนื่องจากดินเหนียวเกาะไข่ได้ไม่นานนัก จึงได้มีการนำเอาดินปลวกมาใช้แทน พบว่าไข่เค็มมีรสชาติอร่อยและพอดีมากกว่าเดิม แถมยังนำมาขายได้ดีและเป็นที่ชื่นชอบของชาวไชยา
    นเวลาต่อมาชาวบ้านในตลาดไชยาก็ได้นำเอาสูตรของนายจี่ แซ่ซิก มาใช้ทำไข่เค็มไว้ทานเองและขายกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งเมื่อมีนักท่องเที่ยวผ่านมาแล้วแวะซื้อไปทาน ก็เกิดความติดใจและบอกต่อกันจนทำให้ไข่เค็มไชยากลายเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อมากที่สุด และได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้

Scroll to Top