อาหาร

ตรัง

เค้กตรัง

Image source            ขนมเค้กเมืองตรัง ถือกําเนิดหรือผลิตขึ้นครั้งแรกที่ตำบลลําภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง โดยชาวจีนไหหลำ โดยที่เค้กตรังยุคแรกที่รู้จักกันคือ “เค้กขุกมิ่ง” โดยตั้งชื่อจากนายขุกมิ่ง แซ่เฮง เจ้าตำรับขนมเค้กเมืองตรังคนแรก ที่อพยพเดินทางมาอยู่เมืองไทย เมื่ออายุ 15 […]

ตรัง

เคยเค็ม

Image source       คำว่า “เคย” คำนี้ราชบัณฑิตยสถานไทย ได้ให้ความหมายไว้เพียงว่า “น. ชื่อสัตว์ทะเลหลายชนิดหลายสกุล มี ๒ วงศ์ ได้แก่ วงศ์ Mysidae เช่น เคยตาดํา” แต่จากการศึกษาของผู้รู้ทราบว่ารากคำเดิมของคำว่า

สงขลา

ข้าวสตูเกียดฟั่ง (โกยาว)

        เกียดฟั่งข้าวสตู (โกยาว) หรือร้านสตูเกียดฟั่ง ร้านเก่าแก่ที่ตั้งอยู่บนถนนนางงาม ในย่านเมืองเก่าสงขลา ถือเป็นหนึ่งในเมนูที่เปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์และความทรงจำที่ยาวนานกว่า 100 ปี นี่คือต้นตำรับข้าวสตูและเป็นเจ้าแรกแห่งสงขลา ซึ่งเปิดบริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 โดยเมนูเด็ดที่ต้องลอง คือข้าวสตูหมู ซึ่งถือเป็นเจ้าแรกต้นตำรับของเมืองสงขลา และไม่เหมือนใคร

สงขลา

น้ำตาลแว่น

Image source      ตาลโตนดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญอย่างหนึ่งของภาคใต้ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ราบทางฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดชุมพรเรื่อยมาจนถึงจังหวัดปัตตานี ตาลโตนดขึ้นได้ดีตามท้องทุ่งทั่ว ๆ ไป และมักจะขึ้นเองตามธรรมชาติตามคันนา โดยกระจายทั่วไปบริเวณคาบสมุทรสทิงพระในท้องที่อำเภอสทิ้งพระ จังหวัดสงขลา มีต้นตาลขึ้นมากเป็นพิเศษ ทําให้ชาวบ้านในท้องถิ่นเหล่านั้นรู้จักนําส่วนต่าง ๆ ของต้นตาลมาใช้ประโยชน์ เช่น ลําต้นใช้ในการก่อสร้างบ้านและทำเครื่องเรือน ทางใช้ทํารั้วหรือเชื้อเพลิง

สงขลา

เต้าคั่ว

Image source        เถ้าคั่วเป็นอาหารพื้นบ้านในจังหวัดสงขลาที่มีรูปแบบเฉพาะถิ่น และมีคุณค่าทางโภชนาการมาก มีลักษณะคล้ายสลัด (บางแห่งเรียก สลัดทะเลสาบ) โดยมีส่วนประกอบด้วย เส้นหมี่ลวก กุ้งชุบแป้งทอด หมูสามชั้นหรือหูหมูต้ม เลือดหมู เต้าหู้ทอด ไข่ต้ม ผักบุ้งลวก ถั่วงอกลวก แตงกวาสดหั่น

สงขลา

ไข่ครอบสงขลา

Image source     ในอดีตอุปกรณ์ทำการประมงท้องถิ่นในพื้นพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ และพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาใช้ด้ายดิบเป็นวัสดุในการทำอุปกรณ์ประมง โดยการถัก กัด อวน แห มาเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 100 ปี ซึ่งปัญหาของการใช้ด้ายดิบมาผลิตเป็นอุปกรณ์ประมง คือ เมื่อใช้ไประยะหนึ่งด้ายจะพองตัว ไม่อมน้ำ ทำให้ด้ายไม่จมน้ำ ดักจับปลาได้น้อย และขาดง่าย

ภูเก็ต

หมี่หุ้นกระดูกหมู

Image source      พูดถึงอาหารพื้นเมืองของภูเก็ตหมี่หุ้นบ๊ะฉ่าง ก็ชี้นชื่อในเรื่องของความอร่อยที่นักชิมไม่ควรพลาด หมี่หุ้นบ๊ะฉ่างเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภูเก็ต ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาลิ้มลองรสชาติ และซื้อหากลับไปเป็นของฝากอยู่เสมอ ต้นตำรับของอาหารประเภทนี้คือป้าช้าง ถ้าอ่านแบบสำเนียงของปักษ์ใต้ก็จะออกเสียงว่า “หมี่-หุ้น-ปา-ฉ่าง” หรือที่บางคนเรียกว่า หมี่หุ้นป้าฉ่าง ตามความหมายนจะมาจากหมี่หุ้นก็คือเส้นหมี่         หมี่หุ้นบ๊ะฉ่างหรือที่บางคนเรียกว่าหมี่หุ้นป้าฉ่าง คือหมี่หุ้นหรือเส้นหมี่ขาวผัดซีอิ้ว เส้นหมี่ขาวผัดน้ำมัน

ภูเก็ต

หมี่ฮกเกี้ยน

Image source      ผัดหมี่ฮกเกี้ยนหรือหมี่ผัดภูเก็ต เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวภูเก็ต เมนูอาหารที่ได้รับการผสมผสานทางวัฒนธรรมของชาวภูเก็ตและชาวจีนโพ้นทะเล ชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยนหรือมณฑลฝูเจี้ยนทางตอนใต้ของประเทศจีน ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาเพื่อเข้ามาทำการค้า โดยชาวจีนฮกเกี้ยนเป็นชาวจีนกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ทางภาคใต้ของประเทศและพบมากที่สุดในจังหวัดภูเก็ต ทำให้ชาวภูเก็ตได้รับอิทธิพลมาจากชาวจีนในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม อาหารการกิน ฯลฯ     

ภูเก็ต

โอ๊ะเอ๋ว

Image source          โอ้เอ๋วที่เป็นชื่อเรียกเมนูขนมหวานหรืออาหารท้องถิ่นประจำจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีลักษณะเป็นวุ้นใสสีอ่อน นิยมกินคู่กับน้ำแข็งไสพร้อมเติมรสชาติความอร่อยด้วยถั่วแดงต้มหรือวุ้นดำ (เฉาก๊วย) ตามความชอบ กินแล้วให้ความรู้สึกเย็นสดชื่น ด้วยรสชาติหวานหอมชื่นใจ เคี้ยวเนื้อสัมผัสที่คล้ายวุ้นหนึบกินอร่อยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งหากใครอยากกินต้องมาลองกินที่เมืองภูเก็ตนี้เท่านั้น         เมนูโอ้เอ๋วหากกล่าวง่าย ๆ

Scroll to Top